การฝึกงาน เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการการเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา โดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับภาคการผลิตหรือภาคบริการหลังจากผู้เรียนได้เรียนรู้ภาคทฤษฎีและการฝึกหัดปฏิบัติเบื้องต้นในสถานศึกษาแล้วระยะหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับการปฏิบัติงานอาชีพ เครื่องมือ เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ทันสมัยและบรรยากาศการทำงานทางธุรกิจที่ต้องแข่งขันในการรักษาคุณภาพ และมาตรฐานของงาน รวมทั้งการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเกิดความมั่นใจและ เจตคติที่ดีในการทำงานและการประกอบอาชีพอิสระ เพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการจัดการอาชีวศึกษา และการฝึกอบรมวิชาชีพของนักเรียน นักศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงได้กำหนดหลักการฝึกงานดังนี้
จุดประสงค์รายวิชา
มาตรฐานรายวิชา
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับลักษณะของงานในสาขาวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง ในสถานประกอบการอาชีพอิสระหรือแหล่งวิทยาการให้เกิดความชำนาญมีทักษะและประสบการณ์ อาชีพในระดับฝีมือโดยผ่านความเห็นชอบร่วมกันของผู้รับผิดชอบการฝึกงานในสาขาวิชานั้น ๆ และรายงานผลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาการฝึกงาน
รายวิชาฝึกงาน
หลักสูตร ปวส. พ.ศ. 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) 3000 7001 การฝึกงาน 4 (320 ช.ม.)
จุดประสงค์รายวิชา
มาตรฐานรายวิชา
คำอธิบายรายวิชา
ฝึกปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับลักษณะของงานสาขาวิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 320 ชั่วโมง ในสถานประกอบการอาชีพอิสระหรือแหล่งวิทยาการ ให้เกิดความชำนาญด้านการควบคุม งานตรวจสอบงาน ติดตามประเมินผลการจัดการวิชาชีพในระดับเทคนิค โดยผ่านความเห็นชอบร่วมกันของผู้รับผิดชอบฝึกงานในสาขาวิชานั้น ๆ และรายงานผลการปฏิบัติงานตลอดระยะเวลาฝึกงาน
กรณี นักศึกษา ประสงค์ไปฝึกงานในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัด ต้องดำเนินการเพิ่มเติม
ในเรียนต่อไปนี้
Copyright © 2015 - งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ
11 ซ.เลียบคลองสอง 19 แขวงสามวาตะวันตก
เขตคลองสามวา กรุงเทพ 10510
โทรสาร. 02-914-0805 โทรศัพท์ 02-914-3173-3 ต่อ 111
Website : http://www.bcbat.ac.th/DVE Email: